ศึกษาพรบ.คนไร้ที่พึ่ง
พรบ.คนไร้ที่พึ่งคืออะไร พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 หรือ พรบ.คนไร้ที่พึ่งนั้น มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ถือว่าเป็นพัฒนาการทางกฎหมายของประเทศไทยเราเลยก็ว่าได้ ที่มีเจตนารมณ์ในการที่จะดูแลกลุ่มบุคคลที่ไร้ที่พึ่งและเป็นผู้ที่เปราะบางทางสังคม เป็นการช่วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่ง เพื่อยกระดับระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลที่ไร้ที่พึ่งทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่ถูกละเลยมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามเมื่อมีการประกาศข้อบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ได้ปรากฏข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประการในบางบทบัญญัติ เช่น การใช้คำในมาตรา 3 คำว่า “คนไร้ที่พึ่ง” หมายถึงใครบางคนในมาตราที่ 22 มีมาตรการในเชิงบังคับว่า บุคคลไร้ที่พึ่งนั้นจำเป็นที่จะต้องเลือกว่า จะเข้าสถานคุ้มครองฯหรือ เลือกที่จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เช่น คนเร่ร่อน ที่กระทำความผิดกฎหมายรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ต้องเลือกว่าจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยถูกปรับ หรือว่าจะเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นการทดแทน มาตรานี้ทำให้นักวิชาการหลายท่านค่อนข้างที่จะเป็นกังวลและมีการถกเถียงกันเพราะเป็นเชิงบังคับคนไร้ที่พึ่งมากเกินควร นิยามของบุคคลไร้ที่พึ่งคือ บุคคลที่ไร้ซึ่งที่อยู่อาศัย และไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ …