กฎหมายแพ่งนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวและทรัพย์สินมรดก ซึ่งตรงข้ามกับกฎหมายอาญาที่เป็นการลงโทษผู้กระทำผิดในสังคม สำหรับกฎหมายแพ่งนั้นครอบคลุมไปถึงเรื่อง ”การหมั้น” ซึ่งได้ระบุไว้ชัดเจนว่าสินสอดที่นำมาหมั้นจะตกไปของฝ่ายหญิงทันทีตามกฎหมาย ไม่ว่าฝ่ายชายตายหรือฝ่ายหญิงตายก็ไม่จำเป็นจะต้องคืนสินสอด โดยกฎหมายระบุเอาไว้ว่าคนที่จะหมั้นจะต้องเป็นคนที่อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
หากอายุต่ำกว่าที่กำหนด จะต้องได้รับการอนุญาติของผู้ปกครองเสียก่อน การหมั้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 17 ปี จะไม่สามารถหมั้นได้ เพราะกฎหมายได้ระบุเอาไว้ว่าเยาวชนที่อายุไม่ถึง 17 ปี ยังไม่วุฒิภาวะเพียงพอที่ใช้ชีวิตคู่ ถึงแม้ว่าพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจะยินยอมก็ตาม ดังนั้นควรให้เด็กมีอายุอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 17 ปี ก่อนที่จะเข้าพิธีการหมั้น
เรื่องถัดมาเป็นการรับรองบุตร ที่เกิดจากผู้หญิงคนอื่นที่ไม่ได้จะทะเบียน ในทางกฎหมายแล้วจะหมายความเป็นเป็นลูกนอกกฎหมายของฝ่ายชาย แต่ถ้าฝ่ายชายอยากที่จะให้ลูกคนนี้มีสิทธิเช่นเดียวกันเหมือนลูกในกฎหมายก็ต้องทำการรับรองบุตร ถ้าหากว่าฝ่ายหญิงจดทะเบียนกับฝ่ายชายในอนาคต ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องรับรองบุตรอีก วิธีที่จะจดทะเบียนได้คือการจดทะเบียนโดยสมัครใจ หรือโดนคำสั่งศาลบังคับให้เป็นบุตร
กฎหมายแพ่งที่น่ารู้สำหรับเรื่องมรดก
เป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อคุ้มครองความต้องการของผู้ตาย (พินัยกรรม) ที่จะถูกส่งมอบมรดกให้กับบุคคลถูกเลือกไว้ แต่ถ้าไม่มีพินัยกรรมมรดกทั้งหลายจะตกเป็นของทายาท หรือคู่สมรส โดยจะเป็นการส่งมอบ “กองมรดก” ซึ่งเป็นทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย รวมถึงสิทธิในการครอบครองอาวุธปืน และความรับผิดชอบต่อทรัยพ์สินต่างๆ ที่สามารถส่งมอบให้กับ ทายาท แผ่นดิน หรือ วัด นอกเหนือจากนี้จะไม่มีสิทธิในการสืบทอดมรดก สำหรับทายาททางกฎหมายนั้น จะแบ่งออกเป็น “ทายาทโดยธรรม” หมายถึง ญาติ พี่น้อง คู่สมรส และอย่างที่สองคือ “ผู้รับพินัยกรรม” อาจเป็นผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพินัยกรรม
หรืออาจเป็นกลุ่มคน ซึ่งมีสิทธิที่จะสืบทอดมรดกตามพินัยกรรม เช่น การยกให้ผู้ถือหุ้นบริษัท การแบ่งทรัยพ์สินให้หลาน หรือ มอบให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ “ผู้รับพินัยกรรมทั่วไป” จะได้รับทรัพย์สิ้นทั้งหมด หรือแบ่งกันตามอัตราส่วนที่เหลือในกองมรกดก และ “ผู้รับพินัยกรรมเฉพาะ” จะได้รับทรัพย์สินจากกองมรดกเฉพาะที่ระบุเอาไว้ชัดเจน และไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายส่วนอื่นๆในกองมรดกได้ ผู้ที่ห้ามรับทรัพย์ตามพินัยกรรมได้แก่ ผู้เขียนพินัยกรรม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และพยาน