ใช้ระบบการวินิจฉัยในศาลจะควบคู่โดยพิจารณาทั้งสองฝ่ายคือ คำฟ้องของโจทก์และคำให้การ

ระบบศาลยุติธรรมของไทยแตกต่างกับต่างชาติอย่างไร

ระบบศาลยุติธรรมระหว่างไทยและต่างชาติมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนกล่าวคือ ระบบศาลยุติธรรมของไทยเป็นระบบ Civil Law ส่วนต่างชาติใช้ระบบ Common Law เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย สหภาพแอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ เป็นต้น ความแตกต่างของสองระบบนี้ต่างทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน กระบวนการตัดสินแตกต่างกันด้วย ลอว์ มีรากฐานเดิมมากจากอังกฤษ โดยถือหลักว่า “ระบบตุลาการจะต้องปลอดจากอำนาจทางการเมือง สภาคองเกรสหรือฝ่ายบริหาร” เน้นความยุติธรรมเฉพาะคดีมากกว่าที่จะสร้างกฎเกณฑ์สำหรับใช้ในอนาคต

กระบวนการพิจารณาระบบศาล Common Law

ใช้ระบบการวินิจฉัยข้อเท็จจริง โดยใช้ระบบลูกขุน 12 คน (ลูกขุนคือพลเมืองทั่วไปที่ถูกคัดเลือกจากทนายความทั้งสองฝ่าย) ให้เป็นผู้พิจารณาข้อเท็จจริง เป็นผู้มีคำสั่งหรือวินิจฉัยปัญหาโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดี ส่วนผู้พิพากษา คือผู้มีคำสั่ง ทำหน้าที่วางหลักกฎหมายและชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งกำหนดโทษที่แก่ผู้กระทำความผิด  ทั้งนี้ศาลจะอนุญาตให้นำพยานบางประเภทส่งให้ลูกขุนดูได้ เพื่อไม่ให้เกิดอคติต่อลูกขุน จุดนี้จึงแตกต่างจากศาลไทยที่ศาลไทยจะให้ข้อเท็จจริงทุกอย่างเสนอต่อศาลได้ แต่ระบบลูกขุนศาลจะพิจารณาไตร่ตรองในชั้นแรกก่อน เมื่อเสร็จสิ้นสืบพยานเสร็จ จะแถลงปิดคดี ให้คณะลูกขุนเข้าประชุมลับ ตั้งประธานลูกขุน สิ่งที่ลูกขุนตัดสินถือเป็นเอกสิทธิ์ผู้พิพากษาจะก้าวล่วงไม่ได้จนเข้าถึงในศาลอีกครั้งศาลจะลงโทษจำเลย ประธานลูกขุนจะกล่าวถึงความผิดของจำเลย ศาลจะพิพากษากำหนดโทษถือเป็นที่สิ้นสุด

ระบบศาลยุติธรรมของไทย

ระบบศาลยุติธรรมในประเทศไทย เป็นระบบซีวิล ลอว์ (Civil Law) ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายโรมัน เป็นระบบกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ตัดสินตามคำพิพากษาของศาล แต่ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย

กระบวนการพิจารณาระบบศาล Civil Law

ใช้ระบบการวินิจฉัยในศาลจะควบคู่โดยพิจารณาทั้งสองฝ่ายคือ คำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย เรียกว่า ปัญหาข้อกฎหมาย รวมถึงพยานหลักฐานมาเพื่อให้พิสูจน์ เรียกว่า ปัญหาข้อเท็จจริง ที่นำมาซึ่งการพิสูจน์หลักฐานต่างๆ เช่น พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ว่ามีความน่าเชื่อถือเป็นผลนำไปสู่ข้อสรุปให้ศาลวินิจฉัยตัดสินได้

การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในระบบศาล Civil Law แยกพิจารณาได้ 2 กรณีคือ

  1. การวินิจฉัยในคดีแพ่ง เน้นการวินิจฉัยพยานหลักฐานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อกว่ากัน ขั้นตอนนี้กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลยพินิจได้เต็มที่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 104
  2. การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญา มีกฎเกณฑ์ไว้แน่นอนระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทำความผิดหรือไม่ ตามหลักอยู่ใน ป.วิ.อ.มาตรา 227

ในระบบคอมมอน ลอว์ของต่างชาติ เน้นเรื่องหลักสามัญสำนึกของบุคคลธรรมดาทั่วไป ที่มีสติปัญญาวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่างๆ จึงเป็นระบบการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน แต่สำหรับในประเทศไทย เป็นระบบซีวิล ลอว์ จะเน้นในเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยาน เพราะคำพิพากษาของศาลจะแสดงให้เห็นถึงปรัชญาในการวินิจฉัยความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานแต่ละชิ้น