กฎหมายตราสามดวงคืออะไร

FacebookTwitterLineต่อให้ไม่ได้เรียนด้านกฎหมายมาโดยตรง ก็ยังเชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ “กฎหมายตราสามดวง” มาบ้างแล้วอย่างแน่นอน ถ้าไม่ใช่จากหนังสืออ่านนอกเวลาในสมัยเรียนก็ต้องเป็นข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์และนิตยสาร เพียงแค่อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร และมีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้ยกเลิกการใช้กฎหมายตราสามดวงไปแล้ว แต่นี่เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญหลายด้านและบางส่วนก็เป็นแนวทางในการออกแบบกฎหมายที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วย กฎหมายตราสามดวง เป็นประมวลกฎหมายที่เริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 นี่ไม่ใช่กฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย แต่เป็นกฎหมายที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยการรื้อกฎหมายเก่าทิ้งเสีย ส่วนใดที่เป็นผลดีก็เก็บไว้พร้อมกับเพิ่มแนวทางตามแบบฉบับของนักกฎหมายมากขึ้น ส่วนใดที่ใช้ไม่ได้ก็ยกเลิกไปทั้งหมด เหตุที่เรียกกันว่ากฎหมายตราสามดวงก็เป็นเพราะว่า ตัวกฎหมายจะทำออกมา 3 ชุด และทุกชุดจะต้องประทับตรา 3 ดวงเหมือนกันหมด ซึ่งตราประทับที่ว่านี้ประกอบไปด้วย – ตราพระราชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหนายก ตราประทับมีทรงกลม…

กฎหมายจราจรคนที่ใช้ท้องถนนร่วมกันต้องรู้

FacebookTwitterLineเพียงแค่มีใบขับขี่และมีรถเป็นของตัวเองก็ยังไม่สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็นคนที่ใช้รถใช้ถนนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มันยังต้องผ่านประสบการณ์ในการขับขี่จริงอีกระยะหนึ่ง ถึงจะรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำอย่างไร อย่างที่เราเห็นกันจนชินตาว่า บางคนก็เกิดการทะเลาะเบาะแว้งเพียงเพราะจังหวะในการออกตัวรถไม่สอดคล้องกัน บางคนก็วิ่งรถในพื้นที่ต้องห้ามจนส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นตามมา ดังนั้น นอกจากองค์ความรู้ที่เราได้รับตอนที่ไปสอบใบขับขี่แล้ว ก็ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เราควรรู้เพิ่มเติมอีก เพื่อลดปัญหาและอุบัติเหตุอันไม่คาดคิดให้น้อยลง ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายจราจรมีดังต่อไปนี้ ใช้แตรรถในยามจำเป็นเท่านั้น นี่เป็นทั้งกฎและมารยาทในการขับขี่ เสียงแตรรถนั้นค่อนข้างดัง ถึงคนในรถจะได้ยินไม่เท่าไร แต่กับคนข้างนอกนั้นถือว่าเป็นการรบกวนอย่างมาก เราจึงไม่ควรบีบแตรเป็นเวลานาน บีบแตรถี่เกินไป หรือบีบเพื่อไล่รถคันอื่นๆ ให้หลีกทาง หน้าที่ของแตรรถที่แท้จริงคือมีไว้สำหรับเตือนบุคคลอื่นก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ ขับรถให้ถูกเลนตามระดับความเร็ว บนถนนที่มีช่องจราจรหลายช่องและแบ่งแยกทิศทางการเดินรถชัดเจน เราก็อาจมีอิสระที่จะวิ่งเลนไหนก็ได้ เป็นประเภทถนนที่ช่วยให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการขับขี่อย่างมาก น้อยที่สุดก็คือไม่ต้องระวังรถที่จะวิ่งสวนทางมา แต่จุดสำคัญอยู่ที่ว่าถ้าขับเร็วควรไปวิ่งเลนทางขวามือ ขณะที่ขับช้าให้ชิดซ้ายเสมอ จะได้ไม่รบกวนคนอื่นพร้อมกับลดการเกิดอุบัติเหตุด้วย…

กฎหมายแรงงานต่างด้าว ที่เจ้านายควรรู้

FacebookTwitterLineในปัจจุบันนี้มีแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง เข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จากหลากหลายอาชีพ ก่อนนายจ้างทั้งหลายจะจ้างแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาทำงาน จะต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ดีเสียก่อน สำหรับวันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าวมาให้ได้อ่านกันแล้ว ข้อควรปฏิบัติของนายจ้างที่ต้องรู้ ห้ามรับบุคคลต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตเด็ดขาด – สำหรับผู้ไม่ทำตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้ามาทำงานหากแต่ต่อมาต้องการให้ย้ายไปทำงานที่อื่น – หรือ ต้องการให้ออกจากงานจะต้องแจ้งให้รับทราบภายใน 15 วัน โดนเริ่มนับแต่วันที่รับเข้ามาทำงาน , ย้าย หรือ ออกจากงาน สำหรับผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000…

กฎหมายแรงงานการทํางานนอกสถานที่ควรรู้

FacebookTwitterLine‘กฎหมายแรงงาน’ คือ กฎหมายบัญญัติขึ้นมาใช้ในการคุ้มครองแรงงาน ให้เกิดความยุติธรรมต่อทั้งลูกจ้างนายจ้าง มีมาตราจำนวนมากได้กำหนดกฎหมายของนายจ้างเอาไว้ และก็มีการพูดถึงสิ่งที่ลูกจ้างต้องกระทำด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในปัญหาสำคัญของกฎหมายแรงงาน ก็คือ มีผู้คนไม่รู้กฎหมายแรงงานเยอะมาก ซึ่งช่องโหว่นี้อาจทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ ลูกจ้างเองก็ต้องศึกษากฎหมายแรงงานไว้ ถ้าลูกจ้างไม่ศึกษากฎหมายแรงงานเอาไว้เสียบ้าง ก็เท่ากับว่าไม่ล่วงรู้ถึงสิทธิของตน และยิ่งโชคร้ายถ้าไปเจอนายจ้างหัวใสบางคนก็ใช้ช่องโหว่นี้เอาเปรียบลูกจ้างเสียเลย หากแต่ในอีกทางด้านหนึ่ง ก็มีนายจ้างจำนวนมากที่กระทำผิดกฎหมายแรงงาน เนื่องจากรู้เท่าไม่ถึงการณ์จริงๆ และต่อมาเมื่อเกิดเรื่องราวขึ้นก็ทำให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมา สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้ทำความรู้จักกับ กฎหมายแรงงานในเรื่องการทำงานนอกสถานที่กัน การจ่ายเงิน ในการทำงานนอกสถานที่ อ้างอิงตามมาตรา 65 ลูกจ้างมีอำนาจ หรือตามนายจ้างสั่งให้ทำงานอย่างหนึ่งใด ด้วยงานอันมีลักษณะต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ ซึ่งไม่อาจกำหนดเวลาได้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61…