ศึกษาพรบ.คนไร้ที่พึ่ง

พรบ.คนไร้ที่พึ่งคืออะไร พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557  หรือ พรบ.คนไร้ที่พึ่งนั้น  มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ถือว่าเป็นพัฒนาการทางกฎหมายของประเทศไทยเราเลยก็ว่าได้  ที่มีเจตนารมณ์ในการที่จะดูแลกลุ่มบุคคลที่ไร้ที่พึ่งและเป็นผู้ที่เปราะบางทางสังคม เป็นการช่วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่ง เพื่อยกระดับระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลที่ไร้ที่พึ่งทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่ถูกละเลยมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามเมื่อมีการประกาศข้อบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ได้ปรากฏข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประการในบางบทบัญญัติ เช่น การใช้คำในมาตรา 3 คำว่า “คนไร้ที่พึ่ง” หมายถึงใครบางคนในมาตราที่ 22 มีมาตรการในเชิงบังคับว่า บุคคลไร้ที่พึ่งนั้นจำเป็นที่จะต้องเลือกว่า จะเข้าสถานคุ้มครองฯหรือ เลือกที่จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เช่น คนเร่ร่อน ที่กระทำความผิดกฎหมายรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ต้องเลือกว่าจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยถูกปรับ หรือว่าจะเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นการทดแทน มาตรานี้ทำให้นักวิชาการหลายท่านค่อนข้างที่จะเป็นกังวลและมีการถกเถียงกันเพราะเป็นเชิงบังคับคนไร้ที่พึ่งมากเกินควร นิยามของบุคคลไร้ที่พึ่งคือ บุคคลที่ไร้ซึ่งที่อยู่อาศัย และไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ …

พื้นฐานกฎหมายที่ประชาชนทั่วไปต้องรู้

กฎหมายเป็นกลไกสำคัญมากอย่างหนึ่งในการควบคุมสังคมให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข กฎหมายถูกออกแบบมาให้ครอบคลุมทุกอย่างในชีวิตประจำวันเลยทีเดียว เพื่อให้กฎหมายถูกบังคับใช้อย่างถูกต้อง จึงมีวลีกล่าวว่า ประชาชนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เพื่อให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องพื้นฐานกฎหมายที่ประชาชนทั่วไปต้องรู้มีเรื่องอะไรบ้าง

กว่าจะมาเป็นผู้พิพากษาต้องเริ่มจากอะไร

สำหรับใครที่รักความยุติธรรม และอยากช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ตกทุกข์ได้ยาก อาชีพหนึ่งที่หลายคนมีคาแรคเตอร์แบบนี้ใฝ่ฝันเลย ก็คือ อาชีพผู้พิพากษา อาชีพถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ชื่อเสียง รายได้ และมีความสำคัญต่อสังคมอย่างมากทีเดียว แต่การจะเดินทางไปถึงจุดนั้นก็ไม่ง่ายเหมือนกัน สำหรับใครที่มีความฝัน มีเป้าหมายอยากจะไปให้ถึงตรงนั้นเส้นทางอาชีพนี้มีอะไรบ้างเราจะมาบอกเส้นทางตั้งแต่เรียนกันเลยทีเดียว

แนะนำมหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับกฎหมายดีที่สุดไทย

กฎหมายเป็นอีกหนึ่งวิชาที่มีคนสนใจเรียนมาก ส่วนหนึ่งก็อยากออกมาประกอบอาชีพทางด้านกฎหมายเพื่อหาความมั่นคงในชีวิต และ ช่วยเหลือคนอื่นด้วยการใช้กฎหมายเข้ามาด้วยพร้อมกัน การเรียนการสอนกฎหมายนั้นจะต้องเป็นการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไป ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็มีการเปิดสอนคณะนิติศาสตร์เยอะแยะมากมาย ว่าแต่จะเรียนทั้งทีต้องตั้งเป้าหมายจะเลือกมหาวิทยาลัยไหนดี ไม่มีที่ไหนดีที่สุด ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การเรียนกฎหมายในระดับมหาวิทยาลัยนั้น เราจะเรียนในคณะนิติศาสตร์เหมือนกัน แต่รายละเอียดภายในหลักสูตรนั้นแตกต่างกันไป แต่ละแห่งก็มีความถนัดไม่เหมือนกัน ไม่มีที่ไหนดีที่สุด แย่ที่สุด แล้วแต่ความชอบและคะแนนที่จะเข้าได้ นอกจากนั้นส่วนใหญ่แล้วการเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยไม่ได้วัดว่าจบจากไหน แต่วัดว่าจบแล้วไปสอบติดเนติบัณฑิตมากน้อยแค่ไหนมากกว่า เพราะงั้นเข้าใจตรงกันนะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากเราพูดถึงกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรากลับนึกถึงเป็นชื่อแรกเลย ที่นี่เค้ามีเปิดสอนคณะนิติศาสตร์ด้วย จุดเด่นอยู่ที่คณาจารย์ที่มีความรู้ทั้งทางด้านกฎหมาย และทางด้านการทำงานด้านกฎหมาย  เดิมทีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความตั้งใจสอนทางด้านการเมือง และกฎหมายอยู่แล้วทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เน้นจุดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แถมบรรยากาศในการเรียนการสอนยังมีความเข้มคลังของกฎหมายที่ผ่านการเล่าเรื่องราวอีกต่างหาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สองเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีการเปิดรับคณะนิติศาสตร์ด้วย พูดถึงที่นี้ต้องบอกเลยว่า การเข้าไปก็ไม่ง่ายเหมือนกันเนื่องจากคะแนนในการสอบเข้าถือว่าสูงมากทีเดียว นั่นเท่ากับว่าหากเราเข้าไปได้ก็ถือว่าเป็น คนเก่งคนหนึ่งของประเทศนี้ด้วยเหมือนกัน การเรียนของที่นี่จะค่อนข้างเข้มข้นมาก คณะครูอาจารย์มีความรู้ความสามารถทางด้านกฎหมายระดับประเทศเลย …

กฎหมาย

กฎหมายตราสามดวงคืออะไร

ต่อให้ไม่ได้เรียนด้านกฎหมายมาโดยตรง ก็ยังเชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ “กฎหมายตราสามดวง” มาบ้างแล้วอย่างแน่นอน ถ้าไม่ใช่จากหนังสืออ่านนอกเวลาในสมัยเรียนก็ต้องเป็นข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์และนิตยสาร เพียงแค่อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร และมีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้ยกเลิกการใช้กฎหมายตราสามดวงไปแล้ว แต่นี่เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญหลายด้านและบางส่วนก็เป็นแนวทางในการออกแบบกฎหมายที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วย กฎหมายตราสามดวง เป็นประมวลกฎหมายที่เริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 นี่ไม่ใช่กฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย แต่เป็นกฎหมายที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยการรื้อกฎหมายเก่าทิ้งเสีย ส่วนใดที่เป็นผลดีก็เก็บไว้พร้อมกับเพิ่มแนวทางตามแบบฉบับของนักกฎหมายมากขึ้น ส่วนใดที่ใช้ไม่ได้ก็ยกเลิกไปทั้งหมด เหตุที่เรียกกันว่ากฎหมายตราสามดวงก็เป็นเพราะว่า ตัวกฎหมายจะทำออกมา 3 ชุด และทุกชุดจะต้องประทับตรา 3 ดวงเหมือนกันหมด ซึ่งตราประทับที่ว่านี้ประกอบไปด้วย – ตราพระราชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหนายก ตราประทับมีทรงกลม ภายในเป็นภาพราชสีห์งดงาม ห้อมล้อมด้วยลายไทยอันอ่อนช้อย – ตราพระคชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ตามประทับมีทรงกลมเช่นเดียวกัน ภายในเป็นภาพคชสีห์ หากมองเผินๆ ก็จะมีรูปร่างคล้ายกับภาพราชสีห์นั่นเอง แต่จะมีฐานรองด้านล่างด้วย …

กฎหมายจราจรคนที่ใช้ท้องถนนร่วมกันต้องรู้

เพียงแค่มีใบขับขี่และมีรถเป็นของตัวเองก็ยังไม่สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็นคนที่ใช้รถใช้ถนนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มันยังต้องผ่านประสบการณ์ในการขับขี่จริงอีกระยะหนึ่ง ถึงจะรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำอย่างไร อย่างที่เราเห็นกันจนชินตาว่า บางคนก็เกิดการทะเลาะเบาะแว้งเพียงเพราะจังหวะในการออกตัวรถไม่สอดคล้องกัน บางคนก็วิ่งรถในพื้นที่ต้องห้ามจนส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นตามมา ดังนั้น นอกจากองค์ความรู้ที่เราได้รับตอนที่ไปสอบใบขับขี่แล้ว ก็ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เราควรรู้เพิ่มเติมอีก เพื่อลดปัญหาและอุบัติเหตุอันไม่คาดคิดให้น้อยลง ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายจราจรมีดังต่อไปนี้ ใช้แตรรถในยามจำเป็นเท่านั้น นี่เป็นทั้งกฎและมารยาทในการขับขี่ เสียงแตรรถนั้นค่อนข้างดัง ถึงคนในรถจะได้ยินไม่เท่าไร แต่กับคนข้างนอกนั้นถือว่าเป็นการรบกวนอย่างมาก เราจึงไม่ควรบีบแตรเป็นเวลานาน บีบแตรถี่เกินไป หรือบีบเพื่อไล่รถคันอื่นๆ ให้หลีกทาง หน้าที่ของแตรรถที่แท้จริงคือมีไว้สำหรับเตือนบุคคลอื่นก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ ขับรถให้ถูกเลนตามระดับความเร็ว บนถนนที่มีช่องจราจรหลายช่องและแบ่งแยกทิศทางการเดินรถชัดเจน เราก็อาจมีอิสระที่จะวิ่งเลนไหนก็ได้ เป็นประเภทถนนที่ช่วยให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการขับขี่อย่างมาก น้อยที่สุดก็คือไม่ต้องระวังรถที่จะวิ่งสวนทางมา แต่จุดสำคัญอยู่ที่ว่าถ้าขับเร็วควรไปวิ่งเลนทางขวามือ ขณะที่ขับช้าให้ชิดซ้ายเสมอ จะได้ไม่รบกวนคนอื่นพร้อมกับลดการเกิดอุบัติเหตุด้วย ใช้ไฟสูงเฉพาะตอนจำเป็น เช่นเดียวกับการใช้แตรรถ ไฟสูงหากเปิดใช้งานพร่ำเพรื่อก็เป็นการรบกวนผู้อื่นแถมยังลดทัศนวิสัยในการมองเห็นของรถที่วิ่งสวนมาอีกด้วย เราจึงควรใช้ไฟสูงในทางที่มืดเปลี่ยวจนมองไม่เห็น แล้วทางที่เต็มไปด้วยหมอกหนา พร้อมกับลดความเร็วลง เมื่อมีรถสวนมาก็ต้องตบไฟสูงลงทันที ครั้นเมื่อสวนกันไปแล้วค่อยกลับมาใช้ไฟสูงใหม่อีกครั้ง เปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าเสมอ อย่างแรกเลยก็คือทุกครั้งที่จะเลี้ยวหรือเปลี่ยนช่องจราจร …

กฎหมายแรงงานต่างด้าว ที่เจ้านายควรรู้

กฎหมายแรงงานต่างด้าว ที่เจ้านายควรรู้

ในปัจจุบันนี้มีแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง เข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จากหลากหลายอาชีพ ก่อนนายจ้างทั้งหลายจะจ้างแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาทำงาน จะต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ดีเสียก่อน สำหรับวันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าวมาให้ได้อ่านกันแล้ว ข้อควรปฏิบัติของนายจ้างที่ต้องรู้ ห้ามรับบุคคลต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตเด็ดขาด – สำหรับผู้ไม่ทำตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้ามาทำงานหากแต่ต่อมาต้องการให้ย้ายไปทำงานที่อื่น – หรือ ต้องการให้ออกจากงานจะต้องแจ้งให้รับทราบภายใน 15 วัน โดนเริ่มนับแต่วันที่รับเข้ามาทำงาน , ย้าย หรือ ออกจากงาน สำหรับผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ระเบียบการณ์ของบุคคลต่างด้าว ซึ่งสามารถขอใบอนุญาตได้ มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย หรือ ได้รับอนุญาตเข้ามาแบบชั่วคราว ต้องไม่อยู่ในประเภทของนักท่องเที่ยวหรือไม่ใช้ผู้เดินทางผ่าน มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ …

กฎหมายแรงงานการทํางานนอกสถานที่ควรรู้

กฎหมายแรงงานการทํางานนอกสถานที่ควรรู้

‘กฎหมายแรงงาน’ คือ กฎหมายบัญญัติขึ้นมาใช้ในการคุ้มครองแรงงาน ให้เกิดความยุติธรรมต่อทั้งลูกจ้างนายจ้าง มีมาตราจำนวนมากได้กำหนดกฎหมายของนายจ้างเอาไว้ และก็มีการพูดถึงสิ่งที่ลูกจ้างต้องกระทำด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในปัญหาสำคัญของกฎหมายแรงงาน ก็คือ มีผู้คนไม่รู้กฎหมายแรงงานเยอะมาก ซึ่งช่องโหว่นี้อาจทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ ลูกจ้างเองก็ต้องศึกษากฎหมายแรงงานไว้ ถ้าลูกจ้างไม่ศึกษากฎหมายแรงงานเอาไว้เสียบ้าง ก็เท่ากับว่าไม่ล่วงรู้ถึงสิทธิของตน และยิ่งโชคร้ายถ้าไปเจอนายจ้างหัวใสบางคนก็ใช้ช่องโหว่นี้เอาเปรียบลูกจ้างเสียเลย หากแต่ในอีกทางด้านหนึ่ง ก็มีนายจ้างจำนวนมากที่กระทำผิดกฎหมายแรงงาน เนื่องจากรู้เท่าไม่ถึงการณ์จริงๆ และต่อมาเมื่อเกิดเรื่องราวขึ้นก็ทำให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมา สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้ทำความรู้จักกับ กฎหมายแรงงานในเรื่องการทำงานนอกสถานที่กัน การจ่ายเงิน ในการทำงานนอกสถานที่ อ้างอิงตามมาตรา 65 ลูกจ้างมีอำนาจ หรือตามนายจ้างสั่งให้ทำงานอย่างหนึ่งใด ด้วยงานอันมีลักษณะต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ ซึ่งไม่อาจกำหนดเวลาได้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 รวมทั้งค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 ยกเว้นเสียแต่นายจ้างมีการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลา หรือ ค่าล่วงเวลาวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง การทำงานนอกสถานที่ต้องตกลงกับนายจ้างให้ชัด ต้องมีระบุในสัญญา – ทางด้านกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ว่า …

กฎหมายแรงงาน 2562 สำหรับคนที่ถูกเลิกจ้าง

กฎหมายแรงงาน 2562 สำหรับคนที่ถูกเลิกจ้าง

สถานการณ์ในปี 2019 พบว่ามีผู้ถูกเลิกจ้างสูงขึ้น โดยมีการเลิกจ้างแล้วมากกว่า 7.9 หมื่นคน ซึ่งผลจากตรงนี้ทำให้นายจ้างต้องจ่ายชดเชย ตามกฎหมายผู้มีอายุงานเกิน 20 ปี จะได้รับค่าชดเชยเพิ่มวันล่ะ 400 วัน อีกทั้งยังต้องได้รับกองทุนสงเคราะห์ ผู้ถูกเลิกจ้าง จะต้องได้รับเงินค่าชดเชย กระทรวงแรงงาน ออกมาเผยข้อมูลในวันที่ 3 กันยายน ได้กล่าวถึงเรื่องราวของการเลิกจ้างว่า ยังไม่ค่อยน่าเป็นห่วงหลังจากมีกระแสข่าวในแง่ไม่ดีนักแพร่สะพัดออกไปว่า เงินกองทุนที่มีอยู่ ณ ขณะนี้อาจไม่เพียงพอจะการช่วยเหลือลูกจ้าง ซึ่งถูกเลิกจ้างมากขึ้น และในวันนี้ทางกระทรวงแรงงานออกมาขอยืนยันหนักแน่นว่า ทางด้านกองทุนเกิดสภาพคล่อง รวมทั้งพร้อมช่วยเหลือลูกจ้างอย่างเต็มที่ โดยมีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 400 ล้านบาท นอกจากนี้การถูกเลิกจ้างอาจมีเหตุผลส่วนหนึ่งซึ่งมาจากผลกระทบทางด้านสภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนมาจากความผันผวนทางเศรษฐกิจของโลก ทำให้สถานประกอบกิจการได้มีการปรับธุรกิจเพื่อให้อยู่ต่อไปได้ ข้อมูลผู้ตกงานในปี 2017 จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนของผู้ว่างงาน ในช่วงเดือน มกราคม …

ประโยชน์ของกฎหมายแรงงาน

ประโยชน์ของกฎหมายแรงงานมนุษย์เงินเดือนต้องรู้

การถูกเอาเปรียบจากนายจ้าง เป็นเรื่องที่มีกันทุกประเทศ และบ้านเราก็ดูเหมือนจะมีปัญหาเช่นเดียวกัน ปัญหาเหล่านี้ทำให้ลูกจ้างทั้งหลายเริ่มมีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำ บางคนก็ตัดสินใจออกจากงาน เพื่อไปหางานยใหม่ บางส่วนโชคดีเจอนายจ้างใจดี แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจจะเป็นตรงกันข้าม ดังนั้นการหางานใหม่เมื่อมีปัญหาจึงไม่ใช้วิธีแก้ไขที่ถูกจุด เพราะไม่รู้ได้เลยว่าข้างหน้าจะมีอะไรรอเราอยู่ นั่นจึงทำให้กฎหมายแรงงานเข้ามามีบทบาทในสังคมเราอย่างมาก มันเกิดขึ้นมาก็เพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างในประเทศ เพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบโดยนายจ้างทั้งหลาย การที่เรารู้เรื่องกฎหมายแรงงานจะทำให้รู้สิทธิที่ตัวเองพึงมีและใช้ประโยชน์จากมันได้ เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ วันหยุดต่อสัปดาห์ สวัสดิการ วันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ทั้งหลายที่ควรรู้ในเรื่องของกฎหมายแรงงานกันอย่างเจาะลึก รับรองว่าคุณจะไม่โดนนายจ้างโกงและเอาเปรียบได้อีกต่อไป เราจะได้ประโยชน์อะไรจากกฎหมายแรงงาน 1.ลูกจ้างจะมีเวลาพักในระหว่างทำงานได้ โดยกฎหมายให้ทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง สำหรับงานที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันการใช้แรงงานหนักเกินควร และจะต้องมีเวลาพักไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน 2.ได้รับเงินเพิ่มเมื่อทำงานในวันหยุด โดยจะต้องไม่ทำงานติดต่อกันมากกว่า 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่หากลูกจ้างยินยอม ก็สามารถทำงานล่วงเวลาได้โดยไม่มีความผิด 3.กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าใน …